เมนู

ชื่อตโปทานี้ มาในระหว่างมหานรกทั้งสอง.
อนฺตร ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้เป็นไปในเนื้อความว่า ระหว่าง. เพราะ
ฉะนั้น ในที่นี้พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ในระหว่างแห่งกรุงราชคฤห์
และนาลันทา. แต่เพราะท่านประกอบด้วย อนฺตรศัพท์ ท่านจึงทำเป็น
ทุติยาวิภัตติ. ก็ในฐานะเช่นนี้ นักอักษรศาสตร์ทั้งหลาย ใช้ อนฺตรา
ศัพท์เดียวเท่านั้น อย่างนี้ว่า อนฺตรา คามญฺจ นทิญฺจ ยาติ ไประหว่าง
บ้านและแม่น้ำ. อนฺตราศัพท์นั้น ควรใช้ในบทที่สองด้วย เมื่อไม่ใช้
ย่อมไม่เป็นทุติยาวิภัตติ. แต่ในที่นี้ท่านใช้ไว้แล้ว จึงกล่าวไว้อย่างนี้แล.

แก้อรรถบท อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ เป็นต้น


บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ ความว่า ทรงดำเนินสู่ทาง
ไกล อธิบายว่า ทางยาว. จริงอยู่ แม้กึ่งโยชน์ก็ชื่อว่า ทางไกล โดยพระ
บาลีในวิภังค์แห่งสมัยเดินทางไกลมีอาทิว่า พึงบริโภคด้วยคิดว่า เราจัก
เดินทางกึ่งโยชน์. ก็จากกรุงราชคฤห์ถึงเมืองนาลันทา ประมาณโยชน์
หนึ่ง.
บทว่า ใหญ่ ในคำว่า กับด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ความว่า ใหญ่ทั้ง
โดยคุณทั้งโดยจำนวน. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่าใหญ่โดยคุณ เพราะ
ประกอบด้วยคุณธรรม มีความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น ชื่อว่า
ใหญ่โดยจำนวน เพราะมีจำนวนถึงห้าร้อย. หมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า
ภิกษุสงฆ์ ด้วยภิกษุสงฆ์นั้น อธิบายว่า ด้วยหมู่สมณะ กล่าวคือเป็นพวก
ที่มีความเสมอกันด้วยทิฏฐิและศีล. บทว่า กับ คือโดยความเป็นอันเดียว
กัน.
บทว่า ภิกษุประมาณห้าร้อย มีวิเคราะห์ว่า ประมาณของภิกษุ

เหล่านั้น ห้า เพราะเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงชื่อว่า มีประมาณห้า. ประมาณ
ท่านเรียกว่า มัตตะ. เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
ก็มีความว่า รู้จักประมาณ คือ รู้จักขนาดในการบริโภค ฉันใด แม้ใน
บทว่า มีประมาณห้า นี้ ก็พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ประมาณห้า คือ ขนาดห้า
ของภิกษุจำนวนร้อยเหล่านั้น. ร้อยของภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าร้อยหนึ่ง.
ด้วยภิกษุประมาณห้าร้อยเหล่านั้น.
บทว่า สุปปิยะ ในคำว่า แม้สุปปิยปริพาชกแล เป็นชื่อของ
ปริพาชกนั้น. ปิอักษร มีเนื้อความประมวลบุคคล เพราะเป็นเพื่อนเดิน
ทาง. โขอักษรเป็นคำต่อบท ท่านกล่าวด้วยอำนาจเป็นความสละสลวย
แห่งพยัญชนะ. คำว่า ปริพาชก ได้แก่ปริพาชกนุ่งผ้า เป็นศิษย์ของ
สญชัย. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินทางไกลนั้นในกาล
ใด แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางในกาลนั้น. ก็ โหติ ศัพท์ในพระบาลี
นี้มีเนื้อความเป็นอดีตกาล.
ในคำว่า กับด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้
ชื่อว่า อันเตวาสี เพราะอรรถว่า อยู่ภายใน. อธิบายว่า
เที่ยวไปในที่ใกล้ ท่องเที่ยวไปในสำนัก ได้แก่เป็นศิษย์.
คำว่า พรหมทัต เป็นชื่อของศิษย์นั้น.
คำว่า มาณพ ท่านเรียกสัตว์บ้าง โจรบ้าง ชาย-
หนุ่มบ้าง.
จริงอยู่ สัตว์ เรียกว่า มาณพ เช่นในประโยค
มีอาทิว่า มาณพเหล่าใดถูกเทวทูตเตือนแล้ว ยัง
ประมาทอยู่ มาณพเหล่านั้น เป็นพระผู้เข้าถึงหมู่
ที่เลว ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน.

โจร เรียกว่า มาณพ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สมาคมกับพวก
มาณพผู้กระทำกรรมบ้าง ไม่ได้กระทำกรรมบ้าง.
ชายหนุ่ม เรียกว่า มาณพ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อัมพัฏฐ-
มาณพ มัณฑัพยมาณพ.
แม้ในพระบาลีนี้ ก็มีเนื้อความอย่างนี้เหมือน
กัน.
อธิบายว่า กับด้วยพรหมทัตศิษย์หนุ่ม.
บทว่า ตตฺร แปลว่า ในทางไกลนั้น หรือในคน 2 คนนั้น.
บทว่า สุทํ เป็นเพียงนิบาต.
ปริยาย ศัพท์ ในบทว่า โดยอเนกปริยาย เป็นไปในอรรถว่า วาระ
เทศนา และเหตุ เท่านั้น.
ปริยาย ศัพท์ เป็นไปในอรรถว่า วาระ เช่นในประโยคมีอาทิว่า
กสฺส นุ โข อานนฺท อชฺช ปริยาโย ภิกฺขุนิโย โอวทิตุํ ดูก่อน
อานนท์ วันนี้เป็นวาระของใครที่จะให้โอวาทภิกษุณีทั้งหลาย.
เป็นไปในอรรถว่าเทศนา เช่นในประโยคมีอาทิว่า มธุปิณฺฑิกา-
ปริยาโยติ นํ ธาเรหิ
ท่านจงทรงจำธรรมนั้นว่าเป็นมธุปิณฑิกเทศนา.
เป็นไปในอรรถว่าเหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อิมินาปิ โข เต
ราชญฺญ ปริยาเยน เอวํ โหตุ
ดูก่อนท่านเจ้าเมือง โดยเหตุแม้นี้ของ
ท่าน จึงต้องเป็นอย่างนั้น.
แม้ในพระบาลีนี้ ปริยาย ศัพท์ นี้นั้น ย่อมเป็นไปในอรรถว่าเหตุ
ฉะนั้น เนื้อความในพระบาลีนี้ดังนี้ว่า โดยเหตุมากอย่าง อธิบายว่า โดย
เหตุเป็นอันมาก.
บทว่า สุปปิยปริพาชกกล่าวโทษพระพุทธเจ้า ความว่า กล่าวติ

คือกล่าวโทษ กล่าวตำหนิ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้เว้นจากโทษ
อันไม่ควรสรรเสริญ ผู้แม้ประกอบด้วยคุณที่ควรสรรเสริญหาประมาณมิได้
อย่างนั้น ๆ โดยกล่าวเหตุอันไม่สมควรนั้น ๆ นั่นแหละว่า เป็นเหตุอย่างนี้
ว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรส เพราะเหตุที่พระสมณโคดมไม่มีการกระ
ทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น อันควรกระทำในผู้ใหญ่โดยชาติใน
โลก ที่เรียกว่าสามัคคีรส พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีโภคะ พระสมณโคดม
เป็นคนกล่าวการไม่กระทำ พระสมณโคดมเป็นคนกล่าวความขาดสูญ
พระสมณโคดมเป็นคนเกลียดชัง พระสมณโคดมเป็นคนเจ้าระเบียบ พระ
สมณโคดมเป็นคนตบะจัด พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดเกิด พระสมณ.
โคดมไม่มีธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ซึ่งเป็นญาณและทัศนะอันวิเศษที่ควรแก่
พระอริยเจ้า พระสมณโคดมแสดงธรรมที่ตรึกเอง ที่ตรองเอง ที่รู้เอง
พระสมณโคดมไม่ใช่สัพพัญญู ไม่ใช่โลกวิทู ไม่ใช่คนยอดเยี่ยม ไม่ใช่
อัครบุคคล ดังนี้ และกล่าวเหตุอันไม่ควรนั้น ๆ นั่นแหละ ว่าเป็นเหตุ
กล่าวโทษแม้พระธรรม เหมือนอย่างกล่าวโทษพระพุทธเจ้า โดยประการ
นั้น ๆ ว่า ธรรมของพระสมณโคดมกล่าวไว้ชั่ว รู้ได้ยาก ไม่เป็นธรรม
ที่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ และกล่าวเหตุอันไม่สมควร
ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นเอง ว่าเป็นเหตุ กล่าวโทษแม้พระสงฆ์ เหมือน
อย่างพระธรรม โดยประการนั้น ๆ ว่า พระสงฆ์สาวกของพระสมณโคดม
ปฏิบัติผิด ปฏิบัติคดโกง ปฏิบัติปฏิปทาทีขัด ปฏิปทาที่แย้ง ปฏิปทาอัน
ไม่เป็นธรรมสมควรแก่ธรรม ดังนี้ โดยอเนกปริยาย.
ฝ่ายพรหมทัตมาณพศิษย์ของสุปปิยปริพาชกนั้น ผุดคิดขึ้นโดย
อุบายอันแยบคายอย่างนี้ว่า อาจารย์ของพวกเราแตะต้องสิ่งที่ไม่ควรแตะ

ต้อง เหยียบสิ่งที่ไม่ควรเหยียบ อาจารย์ของพวกเรานี้นั้นกล่าวติพระ
รัตนตรัย ซึ่งควรสรรเสริญเท่านั้น จักถึงความพินาศย่อยยับเหมือนคน
กลืนไฟ เหมือนคนเอามือลูบคมดาบ เหมือนคนเอากำปั้นทำลายภูเขา
สิเนรุ เหมือนคนเล่นอยู่แถวซี่ฟันเลื่อย และเหมือนคนเอามือจับช้างซับ
มันที่ดุร้าย ก็เมื่ออาจารย์เหยียบคูถ หรือไฟ หรือหนาม หรืองูเห่าก็ดี
ขึ้นทับหลาวก็ดี เคี้ยวกินยาพิษอันร้ายแรงก็ดี กลืนน้ำกรดก็ดี ตกเหวลึก
ก็ดี ไม่ใช่ศิษย์จะต้องทำตามนั้นไปเสียทุกอย่าง ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายมี
กรรมเป็นของตน ย่อมไปสู่คติตามควรแก่กรรมของตนแน่นอน มิใช่บิดา
จะไปด้วยกรรมของบุตร มิใช่บุตร จะไปด้วยกรรมของบิดา มิใช่มารดาจะ
ไปด้วยกรรมของบุตร มิใช่บุตรจะไปด้วยกรรมของมารดา มิใช่พี่ชายจะ
ไปด้วยกรรมของน้องสาว มิใช่น้องสาวจะไปด้วยกรรมของพี่ชาย มิใช่
อาจารย์จะไปด้วยกรรมของศิษย์ มิใช่ศิษย์จะไปด้วยกรรมของอาจารย์
ก็อาจารย์ของเรากล่าวติพระรัตนตรัย และการด่าพระอริยเจ้าก็มีโทษมาก
จริง ๆ ดังนี้ เมื่อจะย่ำยีวาทะของอาจารย์ อ้างเหตุผลเหมาะควร เริ่ม
กล่าวสรรเสริญ พระรัตนตรัยโดยอเนกปริยาย ทั้งนี้เพราะพรหมทัตมาณพ
เป็นกุลบุตรมีเชื้อชาติบัณฑิต ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า
ส่วนพรหมทัตมาณพศิษย์ของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า
ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย.

อธิบาย วณฺณ ศัพท์


ในศัพท์เหล่านั้น ศัพท์ว่า วณฺณ ในบทว่า วณฺโณ ย่อมปรากฏ
ในความว่า สัณฐาน ชาติ รูปายตนะ การณะ ปมาณะ คุณะ และปสังสา.
ในบรรดาเนื้อความเหล่านั้น สัณฐาน เรียกว่า วณฺณ เช่นใน